HomeHome PromotionPromotion VouchersVouchers ServicesServices LINE Official AccountLINE Official

SEARCH

Recommend Keywords : Product Code , Product Name

Articles
เคลียร์! 11 สาเหตุร้าย ผมร่วง ผมบาง ในผู้หญิง
29 มี.ค 2559 18:27 น. | เปิดอ่าน 13,528

ถ้าผมหายไป "คุณจะคิดถึงผมไหม?"
ปัญหาผมร่วง ผมบาง ในผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สาวๆ ขาดความมั่นใจจนต้องหาหลากหลายวิธีมาเพื่อ “ปกปิด” ข้อบกพร่องในบริเวณที่มีผมหลุดร่วง จนกลายเป็นคนผมบางอย่างเห็นได้ชัด สาวๆ จึงต้องเสาะหาหนทางการในแก้ไข ทั้งการปกปิดผมบางด้วยการต่อผมให้ดูหนา การชโลมหนังศรีษะด้วยน้ำยาปลูกผม จนถึงการเข้าไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการปลูกผม เพื่อทำการรักษาให้ผมหนาขึ้น คืนความมั่นใจของคุณให้กลับมาอีกครั้ง ก่อนอื่นคุณควรทำความเข้าใจกับวงจรชีวิตของเส้นผมที่ปกติกันก่อน



วงจรชีวิตของเส้นผม
1. ระยะอานาเจน (Anagen Phase)
เป็นระยะเติบโต ในเวลาหนึ่งๆ แล้วร้อยละ 85 ของเส้นผมของคนเราจะอยู่ในระยะนี้ซึ่งจะกินระยะเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 6 ปีเลยทีเดียว เส้นผมที่อยู่ในระยะนี้จะยาวขึ้นปีละ 10 เซนติเมตร และโดยทั่วไปเส้นผมก็มักจะไม่ยาวเกินไปกว่า 1 เมตร

2. ระยะคาตาเจน (Catagen Phase)
เป็นระยะแปรเปลี่ยนจากปลายของระยะอานาเจน ก็จะเข้าสู่ระยะคาตาเจนซึ่งกินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ในระยะนี้รูขุมขนจะหดตัวลง นั่นคือรูขุมขนจะตื้นมาก ทำให้ส่วนล่างที่เคยต่อเชื่อมกับ เดอร์มัล แปปิลลา ถูกตัดขาดออกจากกัน เส้นผมหรือเส้นขนในระยะนี้จะบางลงและมีสีซีดลงเนื่องจากสูญเสียเซลล์สี บนร่างกายของเราจะมีเส้นผมหรือเส้นขนที่อยู่ในระยะนี้ประมาณร้อยละ 2 ค่ะ

3. ระยะเทโลเจน (Telogen Phase)
เป็นระยะพักตัวซึ่งจะกินเวลาประมาณ 1.5-3 เดือน ในระหว่างนี้เส้นผมที่ลีบแบนและซีดจะหลุดร่วงออกมา ถ้าคำนวณจากสิ่งที่ทราบด้วยว่าในเวลาหนึ่งๆ เส้นผมหรือเส้นขนประมาณร้อยละ 10-15 บนร่างกายของเราจะอยู่ในระยะนี้ จะทำให้เราเห็นการหลุดร่วงของเส้นผมวันละประมาณ 100 เส้นซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนใหญ่ร่างกายจะเริ่มสร้างรูขุมขนใหม่โดยสเต็มเซลล์ของเส้นผมและเติบโตจนเริ่มเข้าสู่ระยะอานาเจนต่อไป ในบางกรณีรูขุมขนเดิมที่อยู่ในระยะเทโลเจนอาจจะกลับเติบโตเข้าสู่ระยะอานาเจนก็ได้ โดยจะเริ่มสร้างเส้นผมหรือเส้นขนใหม่ขึ้นมา และหากเส้นผมหรือเส้นขนเดิมยังไม่หลุดร่วงออก เส้นขนใหม่นี้ก็จะดันเอาเส้นขนเก่าออกมาเอง และ ทุกอย่างก็จะเริ่มวนเวียนอีกครั้งหนึ่ง


คราวนี้สาวๆ ก็พอจะทราบวัฏจักรวงจรชีวิตของเส้นผมกันแล้ว ซึ่งวงจรของปกติจะพบว่ามีการหลุดร่วงบ้างเป็นไปตามกลไกของร่างกาย แต่หากคุณพบว่าเส้นผมหลุดร่วงมากเกินจนผิดปกติ เราลองมาดูกันว่าคุณกำลังประสบกับสาเหตุเหล่านี้อยู่หรือไม่

เคลียร์! 11 สาเหตุร้าย “ผมร่วง ผมบาง” ในผู้หญิง

1. อายุเพิ่มขึ้น  เมื่ออายุมากขึ้น การเจริญเติบโตของผมจะช้าลง เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก นอกจากการใส่ใจดูแลตัวเองให้มากขึ้น เช่น เลี่ยงการใช้สารเคมีกับผม , ใช้แชมพูชนิดอ่อน , ออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยยืดอายุของการเจริญเติบโตผมไปด้วย 

2. พันธุกรรม อาการผมร่วงนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ไปเป็นฮอร์โมน ดีเอชที (DHT – dihydrotestosterone) ซึ่งสามารถพบได้ทั้งชาย และหญิง มีผลให้รากผมเกิดความเสียหาย หากผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนจะทำให้ฤทธิ์ของฮอร์โมน DHT เด่นขึ้น และ ทำให้เกิดภาวะผมบางที่บริเวณส่วนบน หรือ ด้านข้างของศีรษะคล้ายที่พบในผู้ชายได้เช่นกัน

3. ฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์สูง , ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ , หญิงวัยหมดประจำเดือน, หญิงที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน, การผ่าตัดมดลูก และ รังไข่ออก ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้จะทำให้ผมเข้าสู่ระยะพักเร็วขึ้นกว่าปกติ จึงก่อให้เกิดผมหลุดร่วงได้

4. ความเครียด การปรับตัวของร่างกายที่อยู่ในสภาวะความเครียด มีผลทำให้การทำงานบางส่วนของผมหยุดการทำงานไปได้ เช่น หยุดการสร้างผมไว้ชั่วขณะ 

5. การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาเคมีบำบัด, ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง, ยารักษาโรคเก๊าฑ์, วิตามิน A ขนาดสูงที่ใช้ในการรักษาสิว ส่วนใหญ่ผมที่ร่วงไปจากสาเหตุดังกล่าวนี้ จะกลับเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่เองได้ ทั้งนี้ ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชี่ยวชาญอย่างถี่ถ้วน

6. ขาดสารอาหาร ผลสืบเนื่องมาจากการลดน้ำหนัก อดอาหาร หรือ ในผู้ป่วยโรคจิตบางชนิด เช่น อนอเรกเซีย, บูลีเมีย (anorexia, bulimia) อาจทำให้รากผมเกิดภาวะช็อค และ หยุดการเจริญชั่วคราวได้ สารอาหารที่ร่างกายได้รับไม่พอเพียง ทั้งพวกโปรตีน, วิตามิน, เกลือแร่ จะถูกนำไปใช้กับร่างกายในส่วนที่สำคัญก่อน ดังนั้นการเจริญของผมอาจจะหยุดไปชั่วคราว แต่เมื่อได้รับสารอาหารที่เพียงพออีกครั้งผมจะเจริญขึ้นใหม่ได้เอง

7. ภาวะตั้งครรภ์ หรือ หลังตั้งครรภ์   ขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนบางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงขึ้น เมื่อหลังคลอดฮอร์โมนจึงมีการเปลี่ยนแปลงลงจนถึงขั้นปกติ จึงพบว่ามีผมร่วงมากขึ้น บางรายร่วงเป็นกระจุก บางรายอาจพบว่าผมร่วงเมื่อคลอดผ่านไปแล้วถึง 3 เดือน ซึ่งผมจะกลับมาขึ้นเป็นปกติได้ภายใน 3 - 6 เดือนได้ หลังมีอาการ

8. ภาวะหลังการผ่าตัด การผ่าตัดมีส่วนทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพัก ก่อให้เกิดผมร่วง โดยที่ผมจะกลับมาเจริญขึ้นใหม่ได้เองหลังจากมีอาการ 6 เดือน

9. ความเจ็บป่วยทางร่างกาย โรคที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDs), โรคเอสแอลอี (SLE) และ โรคมะเร็งบางชนิด

10. สารเคมีจากการทำผม เช่น ยาย้อมผม , น้ำยาดัด ยืดผม , น้ำยายืดผม โดยไม่ถูกวิธี หรือ บ่อยครั้งจนเกินไป ทำให้เกิดการขัดขวางการเจริญเติบโตของเส้นผมได้ สารเคมีจะเข้าไปทดแทนสารอาหารที่ลำเลียงในเส้นผม ก็ให้เกิดผมขาด เสีย หลุดร่วง

11. การรัด / ต่อผม  การรัด ถักเปียผมแน่นๆ หรือ การต่อผม  จะส่งผลให้รากผมเกิดการอักเสบ เกิดรอยแผลบริเวณรากผม จนก่อให้เกิดการหลุดร่วง ตลอดจนทำให้เกิดผมบางถาวรได้อีกด้วย

แล้ว "ผม" จะกลับมาหาคุณ

ปัจจุบัน การศัลยกรรมปลูกผมจึงเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าเป็นเทคนิคที่ให้ผลลัพธ์เรื่องความสวยงามของเส้นผม แลดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 วิธี โดยจะใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพเส้นผมของแต่ละบุคคล ภายใต้การพิจารณาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และนี่คือ 2 วิธีทางการแพทย์เพื่อการ "ปลูกผม" อย่างเป็นธรรมชาติ เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวคุณ

1. การย้ายเซลล์ผม เทคนิค FUE (Follicular Unit Extraction)
การปลูกผมโดยการใช้เทคนิค FUE (Follicular Unit Extraction) คือ วิธีการย้ายเซลล์รากผมไปปลูกในบริเวณที่เกิดปัญหา แผลที่เกิดขึ้น จะมีขนาดเล็กเนื่องจากขนาดของเครื่องมือ มีขนาดไม่เกิน 1.2 มม. เท่านั้น โดยสามารถนำเส้นขนจากบริเวณอื่นๆของร่างกาย เช่น หนวด เครา ขนหน้าอก ขนแขน ขนหน้าแข้ง มาปลูกที่ศีรษะได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของลักษณะของเส้นขนบริเวณนั้น ตามการพิจารณาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ วิธีนี้จะมีหลักการดังต่อไปนี้
• โกนผมในบริเวณที่จะย้ายเซลล์ผมนั้นไปปลูกถ่าย
•  ใช้เครื่องมือพิเศษทางการแพทย์ที่เป็นหัวเจาะขนาดเล็ก ประมาณ 0.8 – 1.2 มม. เจาะผ่านผิวหนังตามแนวขนานกับรากผม
•  นำเซลล์ผมไปปลูกใหม่ในบริเวณที่เกิดปัญหา
•  แผลที่เกิดขึ้นหลังทำ เทียบเท่ากับรูขุมขน


 
2. การผ่าตัดปลูกผมเทคนิค FUT (Strip)
การปลูกผมด้วยเทคนิค FUT (Strip) เป็นวิธีการผ่าตัดย้ายเซลล์ผมแบบมาตรฐาน โดยมีการใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยในการหั่นเส้นผมจากบริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีรากผมที่แข็งแรงที่สุด และ มีอายุขัยยืนยาว มาปลูกทดแทนในบริเวณที่เกิดปัญหา ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะมากสำหรับผู้ที่ผมบาง ที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม โดยมีหลักการดังนี้
•  ผ่าตัดหนังศรีษะเป็นลักษณะบางๆ บริเวณท้ายทอยที่มีรากผมที่แข็งแรงที่สุด
•  คัดแยกกอรากผมจากหนังศรีษะท้ายทอย ออกเป็นชิ้นเล็กๆ
•  นำไปปลูกถ่ายในตำแหน่งที่เกิดปัญหา
•  แผลบริเวณท้ายทอย จะถูกเย็บปิดด้วยไหมละลาย
•  หลังทำ ด้วยการใช้เทคนิคพิเศษทางการแพทย์ในการเย็บแผล จะเกิดเส้นผมงอกออกมาจากแผลผ่าตัดด้านหลัง ทำให้แทบจะมองไม่เห็นแผลเลย ทั้งนี้ ลักษณะแผลจะขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคน



การดูแลหลังจากการปลูกผม

  • ภายใน 7 วันแรก หลังการผ่าตัดห้ามสัมผัสแผล สระผม หรือ ระมัดระวังอย่าให้แผลโดนน้ำ

  • นอนหนุนหมอนสูงในช่วง 2 - 3 วันแรก

  • ในกรณีที่มีอาการบวมหลังทำ ใช้นำแข็งประคบบริเวณหน้าผากได้ ห้ามประคบบริเวณที่ปลูกผมโดยตรงเด็ดขาด

  • หากเก็ดสะเก็ดแผล ไม่ควรแกะเด็ดขาด สะเก็ดแผลจะหลุดเองโดยธรรมชาติภายใน 2 สัปดาห์

  • โพกผ้าบริเวณศีรษะหลังทำ 4 - 5 วัน

  • ระมัดระวังการกระแทกบริเวณศีรษะเนื่องจากอาจจะทำให้เส้นผมที่ปลูกอยู่หลุดได้

  • งดการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์

ขอขอบคุณ : Girlisallaround womamandkid

 

 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Call Center : +66 2 714 9555

Whatsapp : +66 96 116 0806

Facebook : SLCclinic

Skype : SLCclinic

LINE : @SLChospital

เพิ่มเพื่อน

Related Articles