" หากคนใกล้ตัวคุณมีอย่างน้อย 1 คน ที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ต้องอ่าน! "
โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นชื่อโรคที่พอน่าจะได้ยินกันมาอยู่บ้าง โรคนี้อาจจะเกิดจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด หรือการได้ยินเพื่อนๆ มาเล่าให้ฟังญาติป่วยเป็นโรคนี้ นอกจากนี้ถ้าคนที่ชอบฟังหรืออ่านข่าวบ่อยๆ ก็จะพบว่าอัตราการเสียชีวิตด้วย 2 โรคนี้มีจำนวนเยอะขึ้น แบบนี้ไม่เรียกว่าโชคร้ายแล้ว แต่มันคือภัยเงียบที่สำหรับบางคนไม่มีสัญญาณเตือนอะไรเลยด้วยซ้ำ อย่าคิดว่ามันจะไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง!!
อายุน้อยก็เสี่ยง! หลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดหัวใจตีบ
ในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ผู้คนมักละเลยสุขภาพ ทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ค่อยมีประโยชน์ ขาดการออกกำลังกาย นอนดึก ความเครียดต่างๆ ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้อายุเยอะก็สามารถเป็นโรคพวกนี้ได้
โรคหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากการสะสมของไขมัน เกลือแร่ และสารตะกอนในผนังหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดแคบลงหรืออุดตัน ทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะไปเลี้ยงสมอง
อาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือที่เราเรียกกันอีกชื่อว่า อาการ stroke
-
มีอาการชาครึ่งซีก
-
อ่อนแรง หน้าเบี้ยว ร่วมถึงแขนขาอ่อนแรง
-
เวียนศีรษะ การทรงตัวไม่ดี เดินเซ
-
กลืนลำบาก
-
พูดลำบาก พูดไม่ชัด
-
เห็นภาพซ้อน
-
ปวดศีรษะรุนแรงแบบฉับพลัน
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กลไลการเกิดโรคคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมองตีบ แต่จะเกิดขึ้นที่หลอดเลือดหัวใจ ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการเป็นอย่างไร
-
อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
-
หายใจไม่อิ่ม จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน
-
อาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนซ้ายหรือร้าวไปบริเวณกราม
-
เหงื่อออก มือเท้าเย็น
-
คลื่นไส้/อาเจียน
สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
-
การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ โซเดียม และน้ำตาลสูง ไม่ค่อยทานใยอาหาร ส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูง และน้ำหนักตัว
-
ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ สารเคมีในบุหรี่และแอลกอฮอล์ ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำลายผนังหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด
-
ไม่ออกกำลังกาย ส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิต และน้ำหนักตัว
-
ความเครียด ส่งผลต่อระบบฮอร์โมน ความดันโลหิต เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด
-
โรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือด
จากสาเหตุทั้งหมดเชื่อว่าหลายคนคงมีความกังวลว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างแน่นอน ซึ่งเราเปลี่ยนจากความกังวลมาเป็นการระมัดระวังไว้จะดีกว่า เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดความกดดันหรือเกิดความเครียดจนเกินไป และในปัจจุบันเราก็มีเทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่ทันสมัยที่จะช่วยคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคก่อนได้ โดยจะเป็นการตรวจอายุหลอดเลือด เช็คความยืดหยุ่นของหลอดเลือด
ตรวจอายุหลอดเลือดด้วยเครื่อง ABI (Ankle Brachial Index)
การตรวจอายุหลอดเลือดแดงด้วยเครื่อง ABI (Ankle Brachial Index) เครื่องจะวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของหลอดเลือด โดยจะเป็นตรวจวัดความดันโลหิตบริเวณแขนและขาพร้อมกันแล้วนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบ การตรวจวัด ABI สามารถช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Disease) ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงที่ขาตีบหรืออุดตัน หากตรวจออกมาแล้วหลอดเลือดค่อนข้างที่จะแข็ง ความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็จะมากขึ้น โดยใช้เวลาในการตรวจเพียง 5 นาทีเท่านั้น หลังจากนั้นผลตรวจจะถูกแปลผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


ผู้ที่ควรรับการตรวจ ABI
-
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีประวัติสูบบุหรี่มานาน
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง
-
ผู้ที่มีสารในเลือดเช่น โฮโมซีสทีน (Homocysteine) และ ไลโพโปรตีน (Lipoprotein) มีค่าสูงกว่าปกติ
-
มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
-
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
-
ผู้ที่มีอาการปวดขา ปวดน่อง หรือตะคริว
-
ผู้ที่มีอาการชาเท้า อ่อนแรง