HomeHome PromotionPromotion VouchersVouchers ServicesServices LINE Official AccountLINE Official

SEARCH

Recommend Keywords : Product Code , Product Name

Articles
จะรู้ได้อย่างไร?? ว่าคุณไม่ถูกใส่ ซิลิโคนเถื่อน!!
23 ก.ย. 2558 16:24 น. | เปิดอ่าน 61,407

สาวๆหน้าอกมินิต่างก็สะเทือนใจทุกครั้งที่ได้ยินคำว่า อกไข่ดาว แผ่นกระดาน ลูกเกด หรือ LCD คำเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นคำต้องห้าม!! ที่สาวๆอกเล็กไม่อยากจะได้ยินเลยใช่ไหมคะ? จากที่สาวๆอกมินิ ทำการเสริมหน้าอกกันจากภายนอก เช่น สวมเสื้อชั้นในดันทรง ฟองน้ำเสริมหน้าอก แต่ถ้าโดนล้อว่า "อกไข่ดาว" บ่อยๆเข้า จากเรื่อง(อก)เล็ก ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้ จนขนาดที่ว่าสาวๆ อกมินิหลายๆ ท่านมีความคิดที่จะ เริ่มหาที่ทำ “ศัลยกรรมเสริมหน้าอก” แต่ก็ด้วยกำลังทรัพย์ของแต่ละท่าน ที่เป็นข้อแตกต่างในการตัดสินใจเลือกสถานที่เพื่อทำ “ศัลยกรรมเสริมหน้าอก”



วันนี้ SLC มีสิ่งทุกท่านควรรู้เกี่ยวกับ "ซิลิโคนเสริมหน้าอกทีไ่ด้มาตรฐานอย่างแท้จริง!! เป็นอย่างไร?" ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบการตัดสินใจที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับร่างกายของเราค่ะ

ชนิดของซิลิโคนเสริมหน้าอก
ในปัจจุบันมีเต้านมเทียมที่ได้รับการรับรองจาก FDA ของสหรัฐอเมริกาอยู่ 2 ชนิดคือ แบบถุงน้ำเกลือ และแบบซิลิโคนเจล โดยทั้งสองแบบจะมีเปลือกหุ้มเป็นซิลิโคนเหมือนกันต่างกันแต่เพียงวัสดุที่อยู่ภายในว่าจะเป็นน้ำเกลือหรือซิลิโคนเจล เต้านมเทียมแบบซิลิโคนจะเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะรับสัมผัส ความยืดหยุ่น และรูปร่างเมื่อเสริมแล้วจะใกล้เคียงเต้านมธรรมชาติมากกว่า



รูปทรงของซิลิโคนเสริมหน้าอก
ทรงของซิลิโคนเสริมหน้าอก จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ 1. ถุงซิลิโคนทรงกลม  2.ถุงซิลิโคนทรงหยดน้ำ  ซึ่งท่านสามารถเลือกทรงของหน้าอกได้ตามความต้องการ



ความปลอดภัยที่การันตีคุณภาพของซิลิโคนเสริมหน้าอก
ซิลิโคนเสริมหน้าอกในท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายชนิด และมาจากผู้ผลิตหลายประเทศ แต่มีเพียงแค่สองบริษัทที่มีข้อมูลการศึกษาความปลอดภัยในมนุษย์ที่นานพอ (นานเกินกว่า10ปี) และได้รับรองคุณภาพจาก U.S. FDA (องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา) คือ บริษัท Allergan และ Mentor ซึ่งทาง FDA ได้พิจารณาจาก การศึกษาติดตามผู้ป่วยกลุ่มใหญ่เป็นระยะเวลานาน และการตรวจมาตรฐานการผลิตของโรงงานในปี 2011 ทาง FDA ได้รายงานสรุปคำแนะนำสำหรับประชาชนก่อนได้รับการผ่าตัดใส่เต้านมเทียม ดังนี้  

  • แนะนำให้ผ่าตัดใส่เต้านมเทียมในผู้หญิงที่อายุ22ปีขึ้นไป

  • ​​ระยะเวลาที่ใส่ยิ่งนานจะยิ่งมีโอกาสเกิดปัญหาที่ทำให้ต้องผ่าตัดเพื่อเอาออกหรือเปลี่ยนได้ และผู้ที่ใส่เต้านมเทียมควรจะต้องตรวจเต้านมเป็นระยะไปตลอดชีวิต

  • ​ปัญหาแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือการที่เกิดพังผืดรัดรอบเต้านมเทียม(capsular contracture), การรั่วซึมของเต้านมเทียม,การเกิดรอยย่นของเต้านมเทียม, การไม่สมมาตรของเต้านม, แผลเป็นและการติดเชื้อ ซึ่งโอกาสเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งมีประมาณ20%ภายในระยะเวลา10ปี 

  • การศึกษาจนถึงปัจจุบันไม่พบว่าการใช้เต้านมเทียมเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือการเกิดโรคเนื้อเยื่อผิดปกติ(connective tissue disorder),หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามไม่มีการศึกษาใดมีคนไข้จำนวนมากและติดตามได้นานเพียงพอที่จะบอกได้อย่างแน่นอนว่าจะไม่เกิดปัญหาเหล่านี้ 

  • แนะนำให้ผู้ที่ใส่เต้านมเทียมแบบซิลิโคนเจลตรวจเต้านมด้วย MRI เพื่อดูการรั่วซึมซึ่งมักไม่มีอาการแสดงทุกสองปี


 จะรู้ได้อย่างไร?? ว่าคุณไม่ถูกใส่ "ซิลิโคนเถื่อน" 

ด้านการผลิตซิลิโคนเสริมหน้าอกในปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นซิลิโคนชนิดผิวเรียบ หรือ ผิวทราย นั้นจะต้องได้รับมาตรฐานจากอเมริกา ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา U.S. FDA  อย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นการใช้ซิลิโคนชนิดผิวทรายจะถูกนำมาแทนที่การใช้ซิลิโคนชนิดผิวเรียบ เนื่องจาก ซิลิโคนชนิดผิวทรายจะช่วยลดการเกิดพังผืด การหดรัดรอบซิลิโคน ทำให้อายุการใช้งานนานกว่า

เมื่อการผ่าตัดเสริมหน้าอกเสร็จสิ้น ทางสถานพยาบาลจะต้องมีหลักฐาน เอกสารรับรอง และ รับประกันจากผู้ผลิตให้กับคนไข้อย่างชัดเจน หรือ เรียกหลักฐานการรับประกันคุณภาพนี้ว่า “Serial Number” ซึ่งคนไข้จะสามารถนำ ซีเรียลนัมเบอร์นี้ ไปตรวจสอบคุณภาพของซิลิโคนได้อย่างถูกต้องภายใต้การรับรองมาตรฐาน U.S. FDA


ควรระวัง!! ซิลิโคนเถื่อน ซิลิโคนปลอม ถึงแม้ว่าจะมี ราคาถูกจริง!! แต่คุณอาจจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดกลับไป!! และในปัจจุบันนี้ซิลิโคนเถื่อนกำลังเป็นที่ระบาดอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีบางแห่งที่กล่าวว่าใช้ซิลิโคนที่ได้มาตรฐาน แต่คนไข้กลับไม่ได้เอกสารการรับรองคุณภาพใดๆ กลับไปหลังจากการผ่านตัดเสร็จสิ้น 

ปัจจัยที่ทำให้ “ซิลิโคนแตก”
อัตราการแตกรั่วของซิลิโคนเองนั้นจะมีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากคุณภาพของซิลิโคนที่ได้มาตรฐานจะถูกพัฒนาและได้รับการันตีการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่ทำหน้าที่ดูแลสวัสดิภาพแก่ชาวอเมริกันด้านความ ปลอดภัยในการใช้ยา อาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเวชเครื่องสำอางต่างๆ (U.S. FDA) ซิลิโคนที่ได้รับการรับรองนี้ เป็นวัสดุที่สามารถรับแรงกดดันได้เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้น สาเหตุการแตกรั่วของซิลิโคนสามารถเกิดจาก การเกิดอุบัติเหตุโดนกระแทกเข้าที่ทรวงอกอย่างรุนแรง ซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐาน ซิลิโคนเถื่อน ราคาถูก ซิลิโคนเสื่อมคุณภาพ รวมถึงไม่มีการการันตีคุณภาพอย่างแท้จริง

การนำซิลิโคนออกเนื่องจากการประสบอุบัติเหตุได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงเข้าทรวงอก

 

ลางร้ายบอกเหตุเตือนให้เปลี่ยนซิลิโคน

หากมีการเปลี่ยนแปลงของหน้าอกสองข้างหย่อนไม่เท่ากัน อาจเนื่องมาจากผิวหนังของเรานั้นหย่อนคล้อยลงตามสภาพ ซึ่งจะทำให้ในส่วนที่เสริมหน้าอกหย่อนลงไปด้วย จากนั้นอาจจะต้องมีการตกแต่งใหม่ หรือ เปลี่ยนซิลิโคนใหม่เป็นแบบที่มีขนาดเหมาะสมมากขึ้นในอนาคต หากเกิดอาการซิลิโคนแตก หรือ รั่วออกมาในระยะแรก เราจะไม่สามารถรู้ได้ และไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่อาการที่บ่งชี้นั้น คืออาการแสบร้อนบวมแดง หน้าอกผิดรูป หรือ หากคลำดูบริเวณหน้าอกแล้วจะพบก้อนบางอย่างใกล้กับซิลิโคน เหตุที่มีอาการเหล่านี้ เนื่องมาจากซิลิโคนที่รั่วไหลออกมานั้นปนเปื้อนไปกับเนื้อเยื่อจนทำให้เกิดการระคายเคืองอักเสบ บวมแดงได้

ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนก่อนคิดศัลยกรรมเสริมหน้าอก

ทั้งนี้ การผ่าตัดเพื่อใส่เต้านมเทียมในปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ก่อนที่จะตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก ทุกท่านควรไตร่ตรองกันอย่างถี่ถ้วนนะคะ ตรวจสอบคุณภาพสถาบันเสริมความงาม ติดตามข่าวสารความปลอดภัยของการเลือกชนิดและยี่ห้อของวัสดุที่ใช้ในการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก เลือกศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดที่มีความเชี่ยวชาญ ซักถามข้อสงสัยก่อนการผ่าตัดให้ถี่ถ้วน สอบถามวิธีการดูแลหลังจากการทำ รวมถึงหากเกิดปัญหา วิธีการแก้ไขของศัลยแพทย์จะสามารถแก้ไขอย่างไรให้เราได้บ้าง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่จะทำให้การรักษาได้ผลดีและเป็นที่น่าพึงพอใจยิ่งขึ้นค่ะ

ขอขอบคุณ Thaiza ,Mycosmeticbeauty ,Manager ,Iranidawakhana ,Kapook ,Bkkparttime , Youtube

 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Call Center : +66 2 714 9555

Whatsapp : +66 96 116 0806

Facebook : SLCclinic

Skype : SLCclinic

LINE : @SLChospital

เพิ่มเพื่อน

Related Articles