HomeHome PromotionPromotion VouchersVouchers ServicesServices LINE Official AccountLINE Official

SEARCH

Recommend Keywords : Product Code , Product Name

Articles
5 อันตราย จากการอดอาหาร
27 ต.ค. 2560 10:22 น. | เปิดอ่าน 6,666

เชื่อว่าตอนนี้ยังคงมีความเชื่อในเรื่องลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารกันอยู่ บางคนเลือกที่จะอดอาหารมื้อเช้า และมื้อเย็น และรับประทานแต่มื้อเที่ยงเพียงมื้อเดียว ถ้ายังรับประทานแบบนี้ไปเรื่อยๆ ร่างกายจะเกิดการปรับตัวให้คุ้นชินกับอาหารที่รับประทานเข้าไป ระบบเผาผลาญจะลดการทำงานลง แต่จะส่งผลให้ร่างกายเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดสารอาหาร และร่างกายซูบผอมจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานหนักได้ และทำให้เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

อันตรายจากการอดอาหาร


1. ได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เมื่อร่างกายขาดโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ และเกลือแร่ จะทำให้ร่างกายของเราทุกส่วนอ่อนแอลงทั้งหมด เนื่องจากไม่มีสารอาหารเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือไม่มีสารอาหารเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย


2. ร่างกายไม่มีแรง เมื่อร่างกายขาดพลังงานจากสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต และไขมัน ทำให้ร่างกายลดการเผาผลาญลง จนส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการล้า ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไรหรือเรียกกว่าอาการขี้เกียจ

3. แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อไม่มีอาหารตกถึงท้อง จะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไม่ทำงาน จนเป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร


4. ท้องผูก เมื่อร่างกายไม่มีอาหารหรือเส้นใยอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร พวกลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ทำให้ไม่มีการบีบตัวของลำไส้ส่งผลให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหารได้ดี แต่เมื่อนานเข้าจะทำให้สุขภาพของระบบอาหารอ่อนแอ และพลังในการขับถ่ายน้อยลง จนสุดท้ายทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

5. ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง น้ำตาล จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย นอกจากนั้นยังทำให้สมองกระตุ้นให้รู้สึกหิวบ่อย

แต่สำหรับบางคนหลังจากที่อดอาหารได้ในระดับหนึ่ง แล้วกลับมากินอาหารให้สัดส่วนที่ปกติอีกครั้ง อาจส่งผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนน้ำหนักพุ่งขึ้นมากกว่าตอนที่อดอาหาร หรือที่เรียกอาการนี้ว่า “โยโย่” ทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายพัง และถ้าเกิดอยากลดน้ำหนักอีกครั้งจะลดได้ยากขึ้น

ดังนั้นการอดอาหารเปรียบเสมือนการใช้ยาลดน้ำหนัก


ไม่ควรอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก แต่ควรออกกำลังกาย และเลือกบริโภคอาหารที่ให้คุณประโยชน์ที่ให้สารอาหารที่ครบถ้วน และในหนึ่งวันควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตในอัตราส่วน 65% ซึ่งเป็นพลังงานที่ร่างกายควรได้รับและจะดึงไปใช้ในระหว่างวัน ต่อมาควรบริโภคไขมันในอัตรา 20% สำหรับให้ร่างกายได้นำไปใช้เป็นพลังงานสำรอง แต่ร่างกายควรได้รับพลังงานจากไขมันดี หรือไขมันไม่อิ่มตัวที่มาจากพืช ไขมันจะช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญ และควรบริโภคโปรตีนในปริมาณ 15% เพื่อใช้ในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่เสียหาย

ขอขอบคุณข้อมูลส่วนหนึ่งจาก medthai.com

 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Call Center : +66 2 714 9555

Whatsapp : +66 96 116 0806

Facebook : SLCclinic

Skype : SLCclinic

LINE : @SLChospital

เพิ่มเพื่อน

Related Articles